มาสร้างความร่ำรวยที่แตกต่างกันครับ กับเรื่องของบุญ บุญเป็นชื่อของความสุข และเป็นความสุขที่แท้จริง จากนี้ไปสิ่งดีๆๆที่ทานสร้างลงมือทำด้วยความตั้งใจขอให้ รวยแบบไม่มีเหตุผลทุกคนครับ
วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ว่าด้วยความรัก ๔ แบบ
ว่าด้วยความรัก ๔ แบบ
(๑) ความรักเกิดจากความรัก
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนา
รักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติ
กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่
น่าพอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า
“บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่
พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นใน
บุคคลเหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความรักเกิดจากความรัก.
(๒) ความเกลียดเกิดจากความรัก
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนา
รักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติ
กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่
พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า
“บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนา
รักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่
พอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้น
ในบุคคลเหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความเกลียดเกิดจากความรัก.
(๓) ความรักเกิดจากความเกลียด
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่
ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่น
มาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่ารักใคร่พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมา
อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เรา
ไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคล
เหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความรักเกิดจากความเกลียด.
(๔) ความเกลียดเกิดจากความเกลียด
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่
ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมา
ประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนา
น่ารักใคร่น่าพอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมา
อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เรา
ไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่
น่าพอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้น
ในบุคคลเหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความเกลียดเกิดจากความเกลียด.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนา
รักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติ
กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่
น่าพอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า
“บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่
พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นใน
บุคคลเหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความรักเกิดจากความรัก.
(๒) ความเกลียดเกิดจากความรัก
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนา
รักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติ
กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่
พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า
“บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนา
รักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่
พอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้น
ในบุคคลเหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความเกลียดเกิดจากความรัก.
(๓) ความรักเกิดจากความเกลียด
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่
ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่น
มาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่ารักใคร่พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมา
อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เรา
ไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคล
เหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความรักเกิดจากความเกลียด.
(๔) ความเกลียดเกิดจากความเกลียด
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่
ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมา
ประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนา
น่ารักใคร่น่าพอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมา
อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เรา
ไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่
น่าพอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้น
ในบุคคลเหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความเกลียดเกิดจากความเกลียด.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๘๐/๒๐๐.
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.youtube.com/watch?v=uUs9UkwXkyg
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
อานิสงส์การร่วมบุญสร้างพระธาตุเจดีย์
อานิสงส์การร่วมบุญสร้างพระธาตุเจดีย์การสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
หรือ อัฐิธาตุของบุคคลที่ควรบูชาได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์
และพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นการสร้างมงคลให้กับตนเองอย่างสูงสุด
เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรมและบรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย
การมีส่วนร่วมสร้าง พระเจดีย์จะมากหรือน้อย ถ้าทำด้วยความเลื่อมใส
ก็ย่อมได้อานิสงส์มากมาย ดังตัวอย่างที่หยิบยกมาให้ท่านได้อ่านต่อไปนี้
พระเถระรูปนี้ในชาติก่อนมีส่วนร่วมสร้างเจดีย์
เพียงท่านใส่ก้อนปูนขาวลงในช่องแผ่นอิฐ ซื่งประชาชนกำลังก่ออิฐสร้างเจดีย์อยู่
เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยจิตใจที่เลื่อมใส
อำนาจแห่งบุญนั้นได้บันดาลให้ท่านไปเกิดในสวรรค์ แลโลกมนุษย์ถึง ๙๔ กัปป์
พอมาถึงสมัยพระพุทธเจ้าสมณโคดม ท่านได้มาบวชในพระพุทธศาสนาท่านคือ
พระสุธาบิณฑิยเถระและยังมีเรื่องเล่าจาก พระมหาโมคคัลลานะเถระ
ว่าท่านได้พบเทพบุตรตนหนึ่งมีวิมานสวยงามวิจิตรตระการตา แวดล้อมด้วยนางฟ้าจำนวนมาก
มาฟ้อนรำขับร้องให้เบิกบานใจ และเทพบุตรตนนี้มีอำนาจยิ่งใหญ่เหนือเทพบุตรทั้งปวง
ท่านจึงถามเทพบุตรตนนั้นว่า เมื่อท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้หรือ
ท่านถึงมีอานุภาพมากมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เทพบุตรตนนั้นตอบว่า
แต่ก่อนเมื่อเป็นมนุษย์ได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ออกบวชอยู่ ๗ พรรษา
และเป็นสาวกของพระศาสดานามว่า สุเมธ ต่อมาได้ดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว
พระบรมสารีริกธาตุของท่านบรรจุไว้ในรัตนเจดีย์ซึ่งห่อหุ้มด้วยข่ายทองคำ
ท่านได้ชักชวนประชาชนให้ไปสักการบูชาด้วยความเลื่อมใส กุศลจะส่งผลให้ขึ้นสวรรค์
ด้วยบุญนี้เองทำให้ข้าพเจ้าได้มาเสวยสุขอยู่ในทิพย์วิมานนี้เอง
ส่วน พระมหากัสสปะเถระนั้น ท่านได้พบเปรตตนหนึ่งมีกลิ่นเหม็นเน่า
มีหนอนกินปาก นอกจากนี้ยังถูกยมบาลเฉือนปาก แล้วราดน้ำให้แสบร้อน
จึงถามถึงผลกรรมของเปรตนั้น ทราบว่าแต่ก่อนตอนเป็นมนุษย์
ตนเป็นชาวนครราชคฤห์ได้ห้ามมิให้บุตร ภรรยา บูชาพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พร้อมกับเล่าถึงพวกที่มีความคิดและกระทำเหมือนตน ส่วนภรรยา
และบุตรของตนได้ไปเสวยสุขอยู่บนสวรรค์ มีวิมานสวยสดงดงาม
เพราะอานิสงส์ที่ได้ไปใหว้พระบรมสารีริกธาตุ สำหรับตนเองนั้นตั้งใจไว้ว่า
หากได้เกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง จะทำการบูชาพระสถูปเจดีย์ให้มากอย่างแน่นอน
นอก จากนี้ในครั้งพุทธกาล พระเจ้าปัสเสนทิโกศล
ได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารเป็นอันมาก
ครั้นถึงหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นทรายขาว
ผ่องบริสุทธิ์ยิ่งนัก ทรงมีพระทัยเลื่อมใสอย่างแรงกล้า
ได้รับสั่งให้ช่วยกันก่อกองทรายให้เป็นรูปเจดีย์ถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ มองดูเป็นทิวแถวสวยงาม เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
เสร็จแล้วได้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่บุบผารามมหาวิหาร แล้วได้ทูลถามถึงอานิสงส์
แห่งการก่อเจดีย์ทราย พระพุทธเจ้าตรัสว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร
ผู้มีศรัทธาแรงกล้าได้ก่อเจดีย์ทรายถึง๘๔,๐๐๐ องค์
หรือแม้แต่องค์เดียว ก็ย่อมได้รับอานิสงส์มาก
จะไม่ตกนรกตลอดร้อยชาติถ้าเกิดเป็นมนุษย์ จะอุดมสมบูรณ์ทุกอย่าง
มีชื่อเสียงเกียรติยศไปทั่วทุกทิศ จากนั้นจะได้ไปสวรรค์เวยทิพย์สมบัติ
การก่อเจดีย์ทรายเป็นเรื่องของผู้มีความฉลาด มีความคิดดี ได้ทำเป็นประเพณีมาแล้วในอดีต
แม้พระตถาคตเองก็เคยทำมาแล้วในครั้งเป็นพระโพธิ์สัตว์ ในครั้งนั้นตถาคตยากจนมาก
มีอาชีพตัดฟืนขาย วันหนึ่งได้พบทรายขาวสะอาดมากในราวป่า ก็มีจิตใจศรัทธาผ่องใส
วันนั้นได้หยุดตัดฟืนทั้งวัน ได้กวาดทรายก่อเป็นเจดีย์โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก
แล้วเปลื้องผ้าห่มของตน ฉีกทำเป็นธงประดับไว้ เพื่อบูชาพระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วอฐิษฐานจิตขอให้เป็นปัจจัยแห่งพระโพธิ์ญาณในอนาคตกาล
ครั้นเมื่อตายไปแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่ ๒ พันปีพิพย์
เมื่อสิ้นอายุขัย ได้อุบัติมาเกิดเป็นพระตถาคตนี้เอง สำหรับพระเจ้าปัสเสนทิโกศลนั้นก็ได้รับพยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า
และพระมหากัสสปเถระ
ยังได้กล่าวถึงประวัติและผลบุญแห่งการสร้างพุทธเจดีย์ของท่านไว้ดังนี้
ใน ครั้งที่พระพุทธเจ้ามีนามว่าปทุมมุตตระ
พระองค์ได้ปรินิพพานแล้วพระมหากัสสปเถระได้ชักชวนหมู่ญาติมิตร และประชาชน
ให้มาร่วมกันสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้ากันเถิด
ทุกคนมีจิตเลื่อมใส ปิติอิ่มเอมใจ
จึงได้ช่วยกันสร้างเจดีย์สูงค่าเสร็จลงด้วยความเรียบร้อย เจดีย์สูงร้อยศอก
สร้างปราสาท ห้าร้อยศอก สูงตระหง่านจรดท้องฟ้า ทุกคนมีจิตปิติเบิกบานในอานิสงส์บุญที่ได้พากันทำไว้
เมื่อท่านตายไปแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
อยู่บนยานทิพย์เทียมด้วยม้าสินธพพันตัว วิมานของท่านสูงตระหง่านเจ็ดชั้น
มีปราสาทหนึ่งพันองค์ ซึ่งสร้างด้วยทองคำ ศาลาหน้ามุขสร้างด้วยแก้วมณี
ส่องแสงสว่างเจิดจ้าไปทั่วสารทิศ ทั้งยังมีอำนาจเหนือเทวดาทั้งปวง
เมื่อลงมาเกิดในโลกมนุษย์ ในกัปป์ที่หกหมื่นในภัทรกัปป์นี้
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ ครอบครองอาณาเขตไปถึง ๔ ทวีป
มีแก้วแหวนเงินทองมากมาย
ประชาชนมีความสุขสำราญเหมือนดั่งเมืองบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
และชาติสุดท้ายได้มาเกิดในสกุลพราหมณ์ที่ร่ำรวย แต่สละทรัพย์ออกบวช
จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผู้เลิศด้วยปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖
การไหว้พระธาตุถือเป็นการเสริมสร้างสิริมงคลให้แก่ชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
เพราะการบูชาพระธาตุ
อันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะนำมาซึ่งความสุข
ความเจริญมาสู่ผู้ที่บูชา รวมทั้งอานิสงส์ผลบุญที่ได้จากการกราบไหว้บูชา
ยิ่งหากใครบูชาด้วยจิตใจศรัทธาอันบริสุทธิ์ และหมั่นกราบไหว้เมื่อมีโอกาส
อานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุ จะดลบันดาลให้เกิดสิริมงคลในชีวิตแก่ตัวผู้บูชา
อานิสงส์ในการสร้างกุศลกับพระบรมสารีริกธาตุ
ถวายฉัตรยอดพระเจดีย์
—-> ได้รับการเคารพยกย่อง เกิดในชาติตระกูลสูง
มีสง่าราศี
ถวายทองคำ
—-> ผิวพรรณงาม เปล่งปลั่ง อุดมมั่งคั่ง
ถวายเงิน
—-> ใจสว่างไสว อยู่เย็นเป็นสุข
ถวายอัญมณี
—-> รัศมีกายทิพย์สว่าง มีราศรี มักประสบโชคดี
ถวาย, บรรจุพระเครื่อง —-> มีกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรค
มักมีคนช่วยเหลือเวลามีปัญหา
ถวายแผ่นทองคำเปลวปิดองค์พระเจดีย์
—-> มีราศีผิวพรรณงาม ใจสว่าง อบอุ่นใจ
ถวายอิฐ
หิน ปูน ทราย —-> มีแต่ความมั่นคงในชีวิต ใจคอหนักแน่น ไม่โลเล
สร้างองค์พระเจดีย์
—-> มักได้สิ่งอันพึงปรารถนา สุขภาพดี ไม่มีวันอดตาย
ถวายธงหลากสีประดับองค์พระธาตุ
—-> มีสง่าราศี กายทิพย์สว่าง
ถวายโคมไฟให้แสงสว่าง
เทียน —-> ใจสว่าง ชีวิตสะดวกสบาย มีอุปสรรคน้อยลง
มีปัญญาธรรมสูงขึ้น เบิกทางสู่ทิพยเนตร
ถวายดอกไม้อันบริสุทธิ์ต่างๆ
—-> สุขสงบใจ ใจสะอาดสดชื่นผ่องแผ้ว
ถวายธูป
เครื่องหอมต่างๆ —-> อบอุ่นมั่นคงในใจ ใจสว่างมีอุปสรรคน้อยลง
มีกลิ่นกายสะอาด รู้สึกสดชื่นเสมอ
ถวายแผ่นหินปูพื้นพระเจดีย์
—-> มีบริวารดี มีสมาธิดีขึ้น
มีเวลาปฏิบัติธรรมมากขึ้น
ถวายกระจกสีประดับองค์พระเจดีย์
—-> กายทิพย์สว่าง มีสง่าราศี มีคนศรัทธา เห็นความดีในตัว
ถวายผ้าเหลืองครอง(หุ้ม)องค์พระเจดีย์
—-> เพิ่มเนกขัมมบารมี ใจสงบขึ้น
มีโอกาสได้วิมุตติธรรมเร็วขึ้น
สรงน้ำพระธาตุ
—-> ใจสะอาดสงบสว่างขึ้น กายและใจชุ่มชื่นแจ่มใส
สุขภาพดี
ถวายข้าว
อาหาร เวรข้าวบูชาพระธาตุ —-> อุดมสมบูรณ์ อิ่มอกอิ่มใจ สุขภาพดี
เวียนเทียนรอบองค์พระเจดีย์
—-> เพิ่มวิสัยปัจจัยแห่งกุศลธรรม เป็นสิริมงคล
ช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น สะอาดขึ้น
แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อพระธาตุจากใจจริง
—-> เป็นที่เคารพยกย่อง มักไม่มีใครเข้าใจผิดหรือ
มองอะไรผิดๆ
ได้บารมีวิมุตติธรรมจากพระบรมธาตุ พาไปสู่วิสุทธิมรรค ผล นิพพานได้เร็วยิ่งขึ้น
เป็นเจ้าภาพหรือมีส่วนช่วยจัดงานฉลองพระธาตุ
—-> ประสบสุขในชีวิตโดยทั่วไปแทบทุกด้านอุดมมั่งคั่ง
มีคนเคารพยกย่องช่วยเหลือเสมอ
บูรณซ่อมแซมเจดีย์พระธาตุ
—-> สุขภาพดี อายุยืน รูปร่างหน้าตาผิวพรรณดี
มีฐานะมั่นคง
สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ
—-> ชีวิตมั่นคงสุขสมปรารถนาทุกด้าน
เป็นที่เคารพยกย่อง ได้มรรคผล นิพพานเร็วขึ้น
ถวายภาชนะบรรจุพระบรมธาตุในเจดีย์
—-> มีชีวิตมั่งคง ปลอดภัย มั่งคั่ง มีบริวารดี
มีเกียรติ เป็นที่ยกย่อง
ถวายบทสวด
เทปสวดมนต์สวดบูชาพระธาตุ —-> เป็นที่ยกย่องสรรเสริญจากคนทุกหมู่เหล่า
ได้ยินได้พบแต่สิ่งที่ดีงาม เสียงใสไพเราะ มีวาจางดงาม มีสมาธิดีขึ้น
พระปุฬินถูปิยเถระ
ซึ่งเป็นพระอรหันต์ในครั้งพุทธกาลได้กล่าวถึงผลที่ท่านได้รับจากการที่ท่านเคยสร้างพระสถูปเจดีย์ไว้ดังนี้
“…เราเป็นชฎิลผู้มีตบะกล้ามีนามว่า นารทะ เราอยู่ในป่าผู้ที่จะสั่งสอน
เราก็ไม่มี ใครๆ ที่จะตักเตือนเราไม่มี เราไม่มีอาจารย์และอุปัชฌาย์
สิ่งที่ควรบูชาเราควรแสวงหาเหมือนกัน เราจักได้ชื่อว่าเป็นผู้มีที่พึ่ง
ครั้งนั้นเราได้ไปแม่น้ำชื่อ อเมริกา ตะล่อมเอาทรายมาก่อเป็นเจดีย์พระสถูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เราได้ทำสถูปนั้นให้เป็นนิมิต เราก่อพระสถูปที่หาดทรายแล้วปิดทอง
แล้วเอาดอกกระดึงทอง ๓,๐๐๐ ดอก มา บูชา
เราเป็นผู้มีความอิ่มใจ ประนมกรอัญชลี นมัสการทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า
ไหว้พระเจดีย์เหมือนถวายบังคมพระพุทธเจ้าในที่เฉพาะพระพักตร์
ฉะนั้นในเวลาที่กิเลสและความตรึกเกี่ยวด้วยกามเกิดขึ้น เราย่อมนึกถึง
เพ่งดูพระสถูปที่ได้ทำไว้ เราประพฤติอยู่เช่นนี้ได้ถูกพระยามัจจุราชย่ำยี
เราทำกาลกิริยา ณ ที่นั้นแล้วได้ไปยังพรหมโลก เราอยู่ในพรหมโลกนั้นตราบเท่าหมดอายุ
แล้วมาบังเกิดในไตรทิพย์ได้เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๘๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้
เราได้เสวยผลของดอกกระดึงทองเหล่านั้น ดอกกระดึงทอง ๒๒,๐๐๐
ดอก แวดล้อมเราทุกภพ เพราะเราได้เป็นผู้บำรุงพระสถูปฝุ่นละอองย่อมไม่ติดกับตัว
ที่ตัวเราเหงื่อไม่ไหล เรามีรัศมีแผ่ซ่านออกจากตัว พระสถูปเราได้สร้างไว้ดีแล้ว
เราได้บรรลุบท (ธรรม) อันไม่หวั่นไหวก็เพราะได้ก่อสถูป ผู้ปรารถนาจะกระทำกุศล
ควรเป็นผู้ยึดเอาสิ่งที่เป็นสาระ ความปฏิบัตินั่นเองที่เป็นสาระเมื่อถึงภพ (ชาติ)
สุดท้าย เราเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี เราได้เห็นพระ
สถูปเสมอ จึงระลึกถึงเจดีย์ขึ้นได้นั่งอาสนะอันเดียวได้บรรลุอรหัตแล้ว
เราได้บรรลุอรหัตตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ เราแสวงหาพระพุทธเจ้า เราได้เห็นพระธรรม
จึงออกจากเรือนบรรพชาในสำนักของพระศากยบุตรกิจ ที่ควรทำในศาสนาของพระศากยบุตร
เราได้ทำสิ้นแล้ว ข้าแต่พระ ผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่
สาวกของพระองค์เป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัยทุกอย่าง ล่วงพ้นความเกี่ยวข้องทั้งปวง
นี้เป็นผลแห่งพระสถูปทอง…”
ขอบคุณข้ามูลดีๆจาก http://punjalee.com/?p=55
วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)