วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร

สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร

ภิกษุทั้งหลาย ! 
เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือหรือรอยนิ้วหัวแม่มือ
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้
หรือลูกมือของพวกช่างไม้
แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า
ด้ามเครื่องมือของเรา วันนี้สึกไปเท่านี้
วานนี้สึกไปเท่านี้
วันอื่นๆ สึกไปเท่านี้ๆ 
คงรู้แต่ว่ามันสึกไปๆ เท่านั้น,
นี้ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! 
เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ 
ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้
วานนี้สิ้นไปเท่านี้
วันอื่นๆ สิ้นไปเท่านี้ๆ
รู้แต่เพียงว่า
สิ้นไปในเมื่อมันสิ้นไปๆ เท่านั้น
,
ฉันใดก็ฉันนั้น.

    -บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๗/๖๘.

ลักษณะของการเกิด

ลักษณะของการเกิด

สารีบุตร !  กำเนิด ๔ ประการเหล่านี้ มีอยู่. ๔ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ :-
(๑)อัณฑชะกำเนิด (เกิดในไข่)
(๒)ชลาพุชะกำเนิด (เกิดในครรภ์)
(๓)สังเสทชะกำเนิด (เกิดในเถ้าไคล)
(๔)โอปปาติกะกำเนิด (เกิดผุดขึ้น)

สารีบุตร !  ก็อัณฑชะกำเนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
 สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชำแรกเปลือกแห่งฟองเกิด นี้เราเรียกว่า อัณฑชะกำเนิด.
สารีบุตร !  ชลาพุชะกำเนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ชำแรกไส้ (มดลูก) เกิด นี้เราเรียกว่า ชลาพุชะกำเนิด. 
สารีบุตร !  สังเสทชะกำเนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ย่อมเกิดในปลาเน่า ในซากศพเน่า ในขนมบูด หรือในน้ำครำ ในเถ้าไคล  (ของสกปรก) นี้เราเรียกว่า สังเสทชะกำเนิด.
สารีบุตร !  โอปปาติกะกำเนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางจำพวก และเปรตบางจำพวก นี้เราเรียกว่า โอปปาติกะกำเนิด.

สารีบุตร !  เหล่านี้แล กำเนิด ๔ ประการ.
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๔๖/๑๖๙.

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ที่รักที่เจริญใจในโลก

ที่รักที่เจริญใจในโลก
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก.
ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี่. ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี่.
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ (วิญญาณ) ทางตา
สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ทางหู...ทางจมูก...ทางลิ้น...ทางกาย...ทางใจ.
ผัสสะทางตา ผัสสะทางหู ผัสสะทางจมูก ผัสสะทางลิ้น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ.
เวทนาจากผัสสะทางตา เวทนาจากผัสสะทางหู...ทางจมูก...ทางลิ้น...ทางกาย...ทางใจ.
การหมายรู้ (สัญญา) เกี่ยวกับรูป การหมายรู้เกี่ยวกับเสียง...กลิ่น...รส...กายสัมผัส...ธรรมารมณ์.
เจตนาในการหมายรู้ (สัญเจตนา) เกี่ยวกับรูป...เกี่ยวกับเสียง...กลิ่น...รส...กายสัมผัส...ธรรมารมณ์.
การตรึก (วิตก) ที่เป็นไปทางรูป การตรึกที่เป็นไปทางเสียง...กลิ่น...รส...กายสัมผัส...ธรรมารมณ์.
การตรอง (วิจาร) ที่เป็นไปทางรูป การตรองที่เป็นไปทางเสียง...กลิ่น...รส...กายสัมผัส...ธรรมารมณ์.
ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่นตัณหาในรส ตัณหาในกายสัมผัส ตัณหาในธรรมารมณ์.
(แต่ละอย่าง ๆ เหล่านี้)
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก.
ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี่.
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้
เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี่.
มหา. ที. ๑๐/ ๒๙๗ – ๒๙๘.
ความพอใจ เป็นเหตุแห่งทุกข์
“ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต.,
ทุกข์ทั้งหมดนั้น.., มีฉันทะเป็นมูล.., มีฉันทะเป็นเหตุ..,
เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์..,
ทุกข์ใด ๆ อันจะเกิดขึ้นในอนาคต.,
ทุกข์ทั้งหมดนั้น.., ก็มีฉันทะเป็นมูล.., มีฉันทะเป็นเหตุ..,
เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์..,
และทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้น.,
ทุกข์ทั้งหมดนั้น.., ก็มีฉันทะเป็นมูล.., มีฉันทะเป็นเหตุ..,
เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ”.
---------------------------
สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๓/๖๒๗.
พุทธวจน จากพระโอษฐ ตถาคต อรหันตสัมสัมพุทธะ
เหตุเกิดของทุกข์
ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบปัญหาในลักษณะเช่นนั้น ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ ... อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น (เรียกว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม)
ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยอะไรเล่า?
ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย คือ ผัสสะ ..ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง .. แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย
อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง .. แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดได้
สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้ .. แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดได้
สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย .. แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้
ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ก็ตาม .. แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้อยู่นั่นเอง
นิทาน. สํ. ๑๖/๔o/๗๕
“ราหุล ! กระจกเงามีไว้สำหรับทำอะไร ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
กระจกเงามีไว้สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า !”.
“ราหุล ! กรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่บุคคลควรสอดส่อง
พิจารณาดูแล้วดูเล่าเสียก่อน จึงทำลงไป
ทางกาย, ทางวาจา หรือ ทางใจ
ฉันเดียวกับกระจกเงานั้นเหมือนกัน”.
---------------------------
ม. ม. ๑๓/๑๒๕/๑๒๘
ภิกษุ ท. ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ...... คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็น กรรมเพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.
ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในนรกมีอยู่, กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉานมีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบากใน อปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่าวิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเองคือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ; ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุ ท. ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรมอย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้ ; อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.
ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓ - ๔๖๔/๓๓๔.
I am browsing [ปฏิจจสุปบาท ๒ - YouTube]. Have a look at it!https://m.youtube.com/watch?v=ouQCM5nqkmk
I am browsing [ปฏิจจสมุปบาท - YouTube]. Have a look at it!https://m.youtube.com/watch?v=hHMVnX90TrA