วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บุญจากการตักบาตร


การตักบาตรเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ เพราะเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณร ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฏิบัติธรรมตามพระธรรมวินัย และสั่งสอนประชาชน เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรสืบไป ทั้งนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติด้วย เพราะทำให้เป็นผู้มีใจบุญกุศลและเป็นการส่งเสริมผู้ทรงคุณธรรม

จุดประสงค์ในการทำบุญตักบาตร
          1. เป็นการลดความแก่ตัว
          2. เป็นการสืบต่ออายุพระศาสนา
          3. เป็นการเพิ่มความสุขและสิริมงคลแก่ตนเอง
          4.เป็นการสั่งสมบุญในแต่ละวัน เพราะการสั่งสมเป็นเหตุนำความสุขมาให้
          5.เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำบุญทำให้จิตใจแจ่มใส
          6.เป็นการทำที่พึ่งคือบุญให้แก่ตนเองในอนาคต
          7. เป็นการอุทิศส่วนบุญแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
          8.เป็นการช่วยรักษาพุทธประเพณี

การทำบุญตักบาตรจะสมบูรณ์ได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
          1. ต้องเตรียมใจให้พร้อม ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะบุญที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใจของผู้ถวาย ท่านแนะนำให้รักษาเจตนาให้บริสุทธิ์
ทั้ง 3 ขณะ คือ
              1.1 ก่อนถวาย ตั้งใจเสียสละอย่างแท้จริง
              1.2 ขณะถวาย ก็มีใจเลื่อมใส ถวายด้วยความเคารพ
              1.3 หลังจากถวายแล้ว ต้องยินดีในทานของตัวเองจิตใจเบิกบานเมื่อนึกถึงทานที่ตนเองได้ถวายไปแล้ว การทำใจให้ได้ทั้ง 3 ขณะ
ดังกล่าวนี้ นับว่ายากมาก เพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้จิตใจของเราเศร้าหมองในขณะใดขณะหนึ่งได้
          2. ผู้รับ คือ พระภิกษุสามเณร เป็นผู้สำรวมระวัง มีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงามตามพระธรรมวินัย ใฝ่ศึกษาเล่าเรียน พระพุทธพจน์ ทรงจำ นำมา
บอกกล่าว สั่งสอนได้ และเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ จนสามารถละขาดได้อย่างสิ้นเชิง
          3. สิ่งของที่ถวาย จะต้องได้มาด้วยวิธีที่สุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน และที่สำคัญคือสิ่งนั้นต้องเหมาะสมแก่พระภิกษุสามเณรด้วย
คำอธิษฐานก่อนตักบาตร
          ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา มีเป้าหมายเพื่อให้มนุษย์ปลดเปลื้องตนเองจากทุกข์ มีจิตใจเป็นอิสระเหนือทุกข์ทุกอย่าง
(พระนิพพาน) หลักการดำเนินชีวิตของชาวพุทธนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งพระโบราณาจารย์ท่านจึงบัญญัติคำ อธิษฐานที่เป็น
สากลนิยมไว้ว่า"อิ ทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิกขูนัง นิยยาเทมิ สุทินนัง วะตะ เม ทานัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ อะนาคะเต กาเล ฯ ข้าพเจ้าขอน้อม
ถวายทานนี้แด่พระสงฆ์ผู้มีศีล ขอท่านที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้ว จงเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ในอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ"
          อีกบทหนึ่งเป็นคำอธิษฐานถึงพระสังฆรัตนะ ว่า นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สังจะวัชเชนะ, โสตถิ เมโหต
ุ สัพพะทา ฯ ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยคำสัตย์ นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ
เทอญ ฯ

วิธีปฏิบัติในการตักบาตร
          โดยปกติพระภิกษุสามเณร จะเดินเรียงลำดับอาวุโส ไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านกำลังรออยู่ ก็จะยืนเรียงเป็น
แถว แต่ในกรุงเทพฯ หรือในบางจังหวัด พระภิกษุสามเณรมักไปตามลำพัง ไม่ได้เดินเรียงแถว
          ทั้งนี้เพราะพระภิกษุสามเณรในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมาก จึงไม่สะดวกที่จะเดินเรียงแถวกันไป และผู้ที่จะนำอาหารมาตักบาตรได้ไม่
ครบทุกรูป การตักบาตรเป็นสังฆทาน คือการถวายโดยไม่เจาะจง จึงควรตั้งใจว่าจะทำบุญตักบาตร แก่พระภิกษุสงฆ์สามเณรในพระพุทธศาสนา
โดยไม่เจาะจงว่าเป็นรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อพระภิกษุสามเณรรูปใดผ่านมา ก็ตั้งใจตักบาตรแก่พระภิกษุสามเณรรูปนั้นและรูปอื่นๆ ไปตามลำดับโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
          1. จัดเตรียมอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะใส่ภาชนะเรียบร้อย มากหรือน้อยตามความต้องการ
          2. นำอาหารที่เตรียมไว้ไปคอยตักบาตร ก่อนที่จะตักบาตรควรตั้งจิตถวายด้วยศรัทธา และความเคารพ ตั้งความปรารถนา เพื่อทำกิเลสให้ลดน้อยลงจนถึงหมดสิ้นไป
          3. ขณะที่ตักบาตร ควรอยู่ในอาการสำรวมและเคารพ
          4. เมื่อตักบาตรเสร็จแล้ว ควรแสดงความเคารพด้วยการไหว้
          5. หลังจากตักบาตร ควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
          คำอธิษฐาน ในการตักบาตรจะใช้ภาษาบาลี หรือภาษาไทยหรือใช้ทั้งสองภาษาก็ได้ ดังนี้
สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุถอดความว่า ทานของเราให้แล้วด้วยดี ขอจิตข้านี้จงสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ
คำกรวดน้ำ แบบย่อ อิทัง เม ญาตินัง โหตุถอดความว่า ขอส่วนแห่งบุญกุศล จงสัมฤทธิ์ผลแก่ญาติข้าดั่งตั้งใจ

อานิสงส์ของการตักบาตร
          1. ทำให้สุขทั้งกายใจ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
          2. มีสุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาว โรคภัยน้อย
          3. มีทรัพย์สมบัติมาก เป็นมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ
          4. ถึงพร้อมด้วย รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติ

ข้อควรระวังในการทำบุญตักบาตร
          1.เมื่อพระสงฆ์เดินผ่าน เราจำเป็นต้องนิมนต์ท่าน ก่อนทุกครั้ง
          2.หากต้องการ ถวายปัจจัย ( เงิน ) ต้องใส่ในย่าม เท่านั้น
          3.ทุกครั้ง ที่จะทำการกรวดน้ำ ให้ทำการ ตั้งนะโม 3 จบ ก่อนทุกครั้ง
          4.อย่าให้ทัพพีหรือภาชนะโดนบาตร
          5. อย่าชวนพระสนทนาขณะใส่บาตร
          6. ควรถอดรองเท้าทุกครั้ง
          7. ไม่ควรใส่สิ่งของที่ใหญ่เกินไป เช่น ขวดน้ำ ข้าวถุงใหญ่
          8. ควรจัดอาหารที่หาได้สะดวก
          9. ไม่ควรใส่อาหารกระป๋อง ของดิบ หรือของเหลือที่รับประทานแล้ว
          จะเห็นได้ว่าการใส่บาตรให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่นั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ในบางจุดที่ดูเหมือนว่ามีรายละเอียดมากมายนั้นเป็นเพราะ
วิถีชีวิตของเราทุกวันนี้เหินห่างจากวัดไปมาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยที่เราจะนำมาปฏิบัติ ทั้งนี้มิใช่เพียงเพราะให้เราได้รับอานิสงส์ผลบุญจาก
การตักบาตรอย่างเต็มที่เท่านั้น แต่การใส่บาตรอย่างเหมาะสมยังช่วยสืบต่ออายุพุทธศาสนาให้ยืนยาว เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและคนรุ่นหลังต่อไป
ช่วยให้คุณค่าของการใส่บาตรยังคงอยู่อย่างพร้อมมูลในทุกด้าน มิใช่เป็นเพียงพิธีกรรมที่สักแต่ว่าทำตามๆ กันไปเท่านั้น


เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
ใส่บาตร...ให้ได้บุญ ผู้แต่ง/เรียบเรียง พระวิชิต ธมฺมชิโต
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=4009
http://kuiburi.blogspot.com/2011/09/kuiburi-kuiburitemple-kuiburi-temple.html
http://dharmahall.blogspot.com/2011/08/blog-post_27.html
http://talk.mthai.com/topic/352168
http://student.nu.ac.th/jitrada/main.html
http://thanat18.wordpress.com/2009/08/20/การตักบาตรแบบถูกต้องได/

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://www.stou.ac.th/study/sumrit/10-56(500)/page3-10-56(500).html


วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อานิสงส์การสวดมนต์


อานิสงส์การสวดมนต์ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
ดังปรากฏในงานของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี จางวางมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4 ที่ได้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จโตมาเทศน์ที่บ้าน
ครั้นพลบค่ำ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตพร้อมลูกศิษย์ได้เดินทางจากวัดระฆังมายังบ้านของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี ซึ่งในขณะนั้นมีอุบาสก อุบาสิกา นั่งพับเพียบเรียบร้อยกันเป็นจำนวนมาก ด้วยต้องการสดับรับฟังการเทศน์ของท่านเจ้าประคุณ ณ ที่เรือนของท่านเจ้าพระยา 
เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวบูชาพระรัตนตรัย เมื่อจบแล้ว ท่านจึงเทศน์ “ เรื่อง อานิสงส์ของการสวดมนต์ ”
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้กล่าวว่ายังมีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลามากหรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงแล้วการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมากมาย
เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันต์อริยะเจ้ามีคุณเช่นไร 
การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผล จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี 5 โอกาสด้วยกันคือ
• เมื่อฟังธรรม
• เมื่อแสดงธรรม
• เมื่อสาธยายธรรม นั่นคือ การสวดมนต์
• เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
• เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ 
การสวดมนต์ในตอนเช้าและในตอนเย็นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ต่างพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ โดยแบ่งเวลาเข้าเฝ้าเป็น 2 เวลา นั่นคือ ตอนเช้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อฟังธรรม ตอนเย็นเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม การฟังธรรมเป็นการชำระล้างจิตใจ ที่เศร้าหมองให้หมดไปเพื่อสำเร็จสู่มรรคผลพระนิพพาน การสวดมนต์นับเป็นการดีพร้อมซึ่งประกอบไปด้วยองค์ทั้ง 3 นั่น คือ
• กาย มีอาการสงบเรียบร้อยและสำรวม
• ใจ มีความเคารพนบนอบต่อคุณพระรัตนตรัย
• วาจา เป็นการกล่าวถ้อยคำสรรเสริญถึงพระคุณอันประเสริฐ ในพระคุณทั้ง 3 พร้อมเป็นการขอขมา ในการผิดพลาดหากมีและกล่าวสักการะเทิดทูนสิ่งสูงยิ่ง ซึ่งเราเรียกได้ว่าเป็นการสร้างกุศล ซึ่งเป็นมงคลอันสูงสุดที่เดียว
อาตมาภาพ ขอรับรองแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าหากบุคคลใดได้สวดมนต์เช้าและเย็นไม่ขาดแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าสู่แดนพระอรหันต์อย่างแน่นอน

การสวดมนต์นี้ ควรสวดมนต์ให้มีเสียงดังพอสมควร ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตตน และประโยชน์แก่จิตอื่น

1.*ที่ว่าประโยชน์แก่จิตตน คือ เสียงในการสวดมนต์จะกลบเสียงภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนจิต ก็จะทำให้เกิดความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้น ๆ ทำให้เกิดสมาธิและปัญญา เข้ามาในจิตใจของผู้สวด

2.*ที่ว่าประโยชน์แก่จิตอื่น คือ ผู้ใดที่ได้ยินได้ฟังเสียงสวดมนต์จะพลอย ได้เกิดความรู้เกิดปัญญา มีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลไปด้วยโดยการให้ทานโดยทางเสียง เหล่าพรหมเทพที่ชอบฟังเสียงในการสวดมนต์ มีอยู่จำนวนมาก ก็จะมาชุมนุมฟังกันอย่างมากมาย เมื่อมีเหล่าพรหมเทพเข้ามาล้อมรอบตัวของผู้สวดอยู่เช่นนั้น ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่ไหนก็ไม่สามารถกล้ำกลายผู้สวดมนต์ได้ตลอดจนอาณาเขตและบริเวณบ้านของผู้ที่สวดมนต์ ย่อมมีเกราะแห่งพรหมเทพและเทวดา ทั้งหลายคุ้มครองภัยอันตราย ได้อย่างดีเยี่ยม
ดูก่อน.. ท่านเจ้าพระยาและอุบาสก อุบาสิกาในที่นี้ การสวดมนต์เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเมื่อจิตมีที่พึ่งคือ คุณพระรัตนตรัย ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งกลัวก็ดี และความขนพองสยองเกล้าก็ดี ภัยอันตรายใด ๆ ก็ดีจะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์นั่นแล..

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://payakorn.com/webboard_ans.php?q_id=32623

อานิสงส์ของการทำวัตรสวดมนต์




การทำวัตรสวดมนต์มีอานิสงส์อย่างไรบ้าง?

๑. เป็นพุทธานุสติ เพราะการทำวัตร เราต้องทำในโบสถ์ต่อหน้าพระประธานอยู่แล้ว

๒.เป็นธัมมานุสติ สิ่งที่เราสวดมนต์ทำวัตร ก็คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า

๓. เป็นสังฆานุสติ ยึดถือและปฏิบัติตามแนวที่ครูบาอาจารย์กระทำมา

๔. เป็นการควบคุมกาย วาจา ใจของเราให้อยู่ในกรอบ ไม่สามารถกระทำความชั่วได้ คือ คนเราจะทำชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ สามประการด้วยกัน การที่เรานั่งทำวัตรอยู่ต่อหน้าพระ กายทำชั่วไม่ได้ เพราะนั่งอยู่ตรงนั้น พนมมืออีกต่างหาก วาจาก็พูดชั่วไม่ได้ เพราะสวดมนต์อยู่ ก็เหลือแต่ใจที่อาจจะคิดชั่วได้ ก็แปลว่าเราได้กำไรไปสองในสามเป็นอย่างน้อย

๕. ถ้าหากเรามีความคล่องตัวในการทรงสมาธิ สิ่งที่เราทำวัตรทั้งหมด คือ คำภาวนา

๖. ถ้าหากเรานึกถึงคำสวดมนต์ทำวัตร เป็นตัวอักษรเฉพาะหน้าของเราได้ เท่ากับเราฝึกทิพจักขุญาณไปในตัว เห็นตัวหนังสือได้ชัดเจนเท่าไร ก็เห็นผีเทวดาได้ชัดเจนเท่านั้น

๗. คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าเราแปลออก น้อมใจปฏิบัติตามไป จะได้ผลมหาศาลอย่างที่คิดไม่ถึง

๘. ถ้าได้มโนมยิทธิ ยกใจขึ้นไปสวดบนพระนิพพานเลย ตายเมื่อไรก็อยู่บนนั้น

บางคนคิดว่าจะไปทำวัตรอะไรนักหนา โดยเฉพาะวัดท่าขนุน ทำวัตรเช้าหนึ่งรอบ ทำวัตรเย็นอีกสองรอบ

แม้กระทั่งหลักจิตวิทยาของฝรั่ง บอกว่าถ้าอะไรที่เราทำซ้ำๆ กัน ในระยะเวลาเดียวกัน สักสามวันติดกัน เราจะเริ่มเกิดความเคยชิน ถ้าเกิดความเคยชินต่อไปก็ทำได้ง่าย คราวนี้ความเคยชินตามหลักบาลี ก็คือ ฌาน เท่ากับบังคับให้ทรงฌานนั่นเอง


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงบ่าย ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันอังคารที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

10 อันดับ วัดที่สวยที่สุดในโลก

ปราสาทนครวัด-Angkor-Wat
อันดับ 10 ปราสาทนครวัด (Angkor Wat)
ปราสาทนครวัด (Angkor Wat) เป็นเทวสถานฮินดูลัทธิไวษณพนิกาย ที่นับถือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุด สร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เมื่อช่วงครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 12 เพื่ออุทิศถวาย แด่องค์พระวิษณุที่พระองค์เชื่อว่า เป็นร่างของพระองค์เอง ในขณะที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ และหลังจากสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ศาสนสถานแห่งนี้ ก็จะเป็นพระราชสุสานที่พระองค์ จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระวิษณุ
The-Temple-of-Srirangam
อันดับ 9 The Temple of Srirangam
วัดนี้อยู่ในประเทศอินเดีย เมือง Tiruchirapalli หรือ Trichy เป็นวัดของศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในโลก
วิหารฮัรมันดิร-ซาฮิบ
อันดับ 8วิหารฮัรมันดิร ซาฮิบ
วิหารฮัรมันดิร ซาฮิบ หรือ วิหารทองคำ เป็นวิหารที่สำคัญที่สุด ในศาสนาซิก ตั้งอยู่ที่เมืองอัมริตสาร์ เมืองหลวงของ แคว้นปัญจาบ ทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย
บุโรพุทโธ-อินโดนิเซีย
 อันดับ 7 บุโรพุทโธ อินโดนิเซียบุโรพุทโธ ( Borobudur ) พุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 8-9 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร ตั้งอยู่บนเนินสูงของเกาะชวาภาคกลาง ห่างจากเมือง ยอกยากาตาร์ ( Yogyakata ) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 40 กิโลเมตร ถือเป็นโบราณสถาานขนาดใหญ่ และเป็นศูนย์รวมแห่งความภาคภูมิใจของชาวอินโดนิเซีย และชาวพุทธทุกคน ซึ่งหวังจะไปแสวงบุญสักครั้งในชีวิต เจดีย์บุโรพุทโธรูปทรงดอกบัวนี้ก่อสร้างตามแบบศิลปะฮินดู-ชวา หรือศิลปะชวาภาคกลางที่ผสมผสาานระหว่างอินเดียและอินโดนีเซีย ได้อย่างกลมกลืนที่สุด บุโรพุทโธเปรียบเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

วัดจิออนอิน-Chion-in-Temple-เกียวโต-ญี่ปุ่น
อันดับ 6 วัดจิออนอิน Chion-in Temple เกียวโต ญี่ปุ่น
วัดจิออนอิน (Chion-in temple) พื้นที่ของวัดนั้ใหญ่โตอลังการ แทรกตัวอยู่ในเขาเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นมาก วัดนี้สร้างในปี ค.ศ. 1234 เพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้ก่อตั้ง ศาสนาพุทธนิกายโจโด เป็นนักบวช ชื่อว่า Honen

Temple-of-Heaven-ปักกิ่ง-ประเทศจีน
อันดับ 5Temple of Heaven ปักกิ่ง ประเทศจีน
หอฟ้าเทียนถานเป็นสถานบวงสรวงเทพยดาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งยังคงรักษาไว้ในจีน ประกอบด้วยตําหนักฉีเหนียนเตี้ยน ตําหนักหวง ฉงอี่ และลานหยวนชิว เป็นต้น เทียนถานตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๗๓ เฮกต้าร์ เป็นสถานซึ่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา ในระยะย่างเข้าฤดูหนาว ถึงเดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปี พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบ พระราชพิธีบวงสรวงที่นั่นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดม

พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง-เมืองย่างกุ้ง-ประเทศพม่า
อันดับ 4 พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า
พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุ พระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น ตามตำนาน เจดีย์ชเวดากองนั้นสร้างเมื่อง 2,500 ปีที่แล้ว แต่นักโบราณคดีเชื่อกันว่าสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6-10 สร้างโดยชาวมอญ ตามตำนานนั้นเริ่มจากว่า มีสองพี่น้อง พ่อค้า 2 คน ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ามา พระองค์จึง ประทานพระเกศามา 8 เส้น พระเจดีย์ได้ถูกทิ้งร้าง จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 รัชสมัยพระเจ้าพินยาอู ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหม่สูง 18 เมตร พระเจดีย์ได้ถูกซ่อมแซมมาเรื่อยมา จนมามีความสูง 98 เมตรใน ปัจจุบัน บนยอดสุดของพระเจดีย์ มีเพชรอยู่ 5,448 เม็ด โดยเฉพาะ ชั้นข้างบนสุดมีเพชรเม็ดใหญ่อยู่ 72 กะรัต และทับทิม 2,317 เม็ด

วัดฮินดูพรัมบานัน-ประเทศอินโดนีเซีย
อันดับ 3 วัดฮินดูพรัมบานัน ประเทศอินโดนีเซีย
วัดฮินดูพรัมบานัน : Prambanan Temple พรัมบานันเป็นวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซียหรือจะเรียกว่า ใหญ่ที่สุดในเอเซียอาคเนย์เลยก็ได้ ตั้งอยู่ที่เมืองพรัมบานัน ตอนกลางของเกาะชวา และอยู่ไม่ไกลจากยอกยากาตาร์มากนัก วัดถูกสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1340 โดยสันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์ Rakai Pikatan จากราชวงศ์ Mataram ที่ 2 หรืออาจะสร้างในสมัยกษัตริย์ Balitung Maha Samba จากราชวงศ์ Sanjaya ได้รับความเสียหายมากในช่วงปี 2006 เพราะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่นี่
วัดร่องขุ่น-Wat-Rong-Khun-ประเทศไทย
อันดับ 2 วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun) ประเทศไทย
วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun) ออกแบบและก่อสร้างโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัด ให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จากเดิมมีเนื้อที่ 3 ไร่ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มและมีผู้บริจาคคือ คุณวันชัย วิชญชาคร จนปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ไร่
Tigers-Nest-Monastery-ภูฏาน
อันดับ 1 Tiger’s Nest Monastery ภูฏาน
ถือเป็นวัดที่มีชื่อเสียงที่สุด ของภูฐาน ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 700 เมตร จากพื้นล่างในหุบเขาปาโร และด้วยระดับความสูง 3,120 เมตร จากระดับน้ำทะเล ฉายาว่า “รังเสือ” ของวัดนี้ ได้มาจากตำนานเก่า ที่เล่าว่า พระรินโปเช (Padmasambhava – Guru Rinpoche) ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่นิกายมหายานในภูฐาน ได้เหาะมาที่นี่บนหลังเสือ และได้เข้าไปนั่งวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในถ้ำ เป็นเวลาถึง 3 เดือน หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2227 จึงเริ่มมีการสร้างวัดขึ้น



วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

คาถาเมตตามหานิยม


คาถานางเต่าดำ
พุทธาวะรังมะลัง สุวัณณะกิสิ สังโกถิ กัตถาวิริยัตถะ มะภะวังพุทธัง กุโล
สุวัณณะ กะชา วิเชโหนถิๆ

คาถานี้ดีทางเมตตามหานิยม เสกนํ้าล้างหน้าเป็นเสน่ห์
เสกนํ้าหอมทาตัว คนนิยมยักแล เสกแป้นผัดหน้าเสน่ห์แก่สตรีอีตถีรักถึงใจนักแล 

คาถาเมตตามหานิยม (คาถาพระสีวะลี)
พุทธังเมตตา นะ ชาลีติ
ธัมมังเมตตา นะ ชาลีติ
สังฆังเมตตา นะ ชาลีติ
สีวะลีเมตตา นะ ชาลีติ

โอมมะพะลัง วา ราชะกุมาโร วา ราชะกุมารี วา ราชา วา ราชินี วา คะหัฏโฐ วา ปัพพะชิโต วา สะมะโณ วา พราหมโณ วา อิตถี วา ปุริโสวา วาณิโช วา วาณิชา วา

อุปาสะโก วา อุปาสิกา วา ทาระโก วา ทาริกา วา สัพเพ อิเม ชะนา พะหู ชะนา มัง ปิยายันตุ อาคัจเฉยยะ

อาคัจฉาหิ เอหิ จิตตัง ปิยัง มะมะ มะหาลาภะสักการา ภะวันตุ เม

คำถวายหอระฆัง


คำถวายหอระฆัง
    ยัคเฆ  ภันเต  สังโฆ  ปะฏิชานาตุ  มะยัง  เอตัง  คัณฑิฆะรัง  สะปะริวารัง  พุทธัสสะ  ปูชะนัตถายะ  พุทธะสาสะเน  นิยยาเทมะ  สาธุ  โน ภันเต  อะยัง  พุทธัสสะ  ปูชะนัตถายะ  คัณฑิฆะรัสสะ  ทานัสสะ  อานิสังโส  อัมหากัญเจวะ  มาตาปิตุอาทีนัญจะ  ปิยะชะนานัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ  สังวัตตะตุ ฯ
     ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ขอพระสงฆ์จงรับทราบ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอมอบถวายหอระฆัง  พร้อมกับของบริวารนี้  ไว้ในพระพุทธศาสนา  เพื่อเป็นพุทธบูชา ขออานิสงส์แห่งการถวายหอระฆัง  เพื่อเป็นพุทธบูชานี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  จงเป็นไปเพื่อประโยชน์  เพื่อความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย  แก่ปิยชนทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย  ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

การนั่งสมาธิ


การนั่งสมาธิ

สมาธิคืออะไร ? 
สมาธิเป็นเรื่องสากลที่ทุกคนทำได้
 
    เมื่อกล่าวถึงสมาธิ ต้องเข้าใจในเบื้องต้นว่า สมาธิมิใช่เรื่องของฤๅษีชีไพร หรือมิใช่เป็นเรื่องที่ประพฤติปฏิบัติได้เฉพาะผู้ที่เป็นนักบวชเท่านั้น แต่สมาธิเป็นเรื่องของการฝึกฝนอบรมจิตใจ และเป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคง ตั้งมั่น และทำให้มีคุณภาพทางจิตใจที่ดีขึ้น ซึ่งในทางพระพุทธศาสนานั้น สมาธิสามารถประพฤติปฏิบัติได้ ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อความมีชีวิตที่อยู่เป็นสุขในเพศภาวะของผู้ที่ยังครองเรือน และยังเป็นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นสำหรับผู้ที่เป็นนักบวชอีกด้วย
 
    แต่อย่างไรก็ตาม สมาธิ ถือเป็นเรื่องสากล กล่าวคือ มิใช่เฉพาะพุทธศาสนิกชนเท่านั้นที่จะสามารถปฏิบัติสมาธิได้ แม้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็สามารถปฏิบัติสมาธิได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การฝึกสมาธิจะเน้นให้ความสำคัญของการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นผลด้วยตนเองแล้ว หากมีข้อสงสัยในเชิงปฏิบัติ ก็สามารถที่จะสอบถามจากผู้รู้ผู้ชำนาญได้อย่างตรงเป้าหมาย หรือตรงต่อประสบการณ์ที่ตนเองได้ปฏิบัติมา และถึงแม้จะมีการอธิบายรายละเอียดความรู้ของสมาธิในเชิงทฤษฎี แต่กระนั้นก็มิอาจที่จะละเลยสมาธิในเชิงปฏิบัติได้
 

นั่งสมาธิ

สมาธิ คือ วิธีการนำไปสู่ความสงบภายใน มีขั้นตอนชัดเจน เรียบง่าย
สามารถปฏิบัติได้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษา ทุกระดับสถานะสังคม 
 

ความหมายของสมาธิ

    การอธิบายความหมายของสมาธิ สามารถอธิบายได้ทั้งในเชิงลักษณะผลของสมาธิที่เกิดขึ้น และอธิบายในลักษณะในเชิงการปฏิบัติ เช่น สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ

ความหมายในเชิงลักษณะผลของสมาธิ

    สมาธิ คือ อาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อย่างต่อเนื่อง หรือ อาการที่ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไปมา เป็นอาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่งแน่วแน่ มีแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใส สว่างไสวผุดขึ้นในใจ จนกระทั่งสามารถเห็นความบริสุทธิ์นั้นด้วยใจตนเอง อันจะก่อให้เกิดทั้งกำลังใจ กำลังขวัญ กำลังปัญญา และความสุขแก่ผู้ปฏิบัติในเวลาเดียวกัน1

ความหมายในเชิงลักษณะการปฎิบัติสมาธิ

    กล่าวอีกนัยหนึ่งในเชิงลักษณะการปฏิบัติ สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด หรือการที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน

ความหมายในเชิงเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย

    พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้ให้ความหมายของการทำสมาธิภาวนาในเชิงของการปฏิบัติว่า การทำสมาธิก็คือการทำใจของเราให้หยุดนิ่ง อยู่ภายในกลางกายของเรา กล่าวคือ การดึงใจกลับเข้ามาสู่ภายใน อยู่กับเนื้อกับตัวของเรา ในอารมณ์ที่สบาย เป็นการดึงใจที่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ ในความคิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว ธุรกิจการงาน การศึกษาเล่าเรียน เรื่องสนุกสนานเฮฮา หรือเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้ก็ตาม ดึงกลับมาไว้อยู่กับตัวของเราให้มามีอารมณ์เดียว ใจเดียว ซึ่งท่านได้อ้างอิงถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งได้เคยอธิบายเรื่องการทำสมาธิว่า คือการทำให้ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ รวมหยุดเป็นจุดเดียว หรือให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวในอารมณ์ที่สบายที่กลางกายของเรา ซึ่งวิธีที่จะทำให้เกิดสมาธิเพื่อการเข้าถึงธรรมกายก็คือฝึกใจให้หยุดให้ นิ่งอยู่ภายใน2
 
 
1พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว), [พ.ศ.2545] พระแท้, ปทุมธานี, หน้า 210.
พระราชภาวนาวิสุทธิ์, [พ.ศ.2537] บทพระธรรมเทศนา วันอาทิตย์ต้นเดือน,( 6 พฤศจิกายน 2537) 

ปทุมธานี.

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://www.dmc.tv/pages/meditation/meditation01.html