วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บุญจากการตักบาตร


การตักบาตรเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ เพราะเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณร ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฏิบัติธรรมตามพระธรรมวินัย และสั่งสอนประชาชน เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรสืบไป ทั้งนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติด้วย เพราะทำให้เป็นผู้มีใจบุญกุศลและเป็นการส่งเสริมผู้ทรงคุณธรรม

จุดประสงค์ในการทำบุญตักบาตร
          1. เป็นการลดความแก่ตัว
          2. เป็นการสืบต่ออายุพระศาสนา
          3. เป็นการเพิ่มความสุขและสิริมงคลแก่ตนเอง
          4.เป็นการสั่งสมบุญในแต่ละวัน เพราะการสั่งสมเป็นเหตุนำความสุขมาให้
          5.เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำบุญทำให้จิตใจแจ่มใส
          6.เป็นการทำที่พึ่งคือบุญให้แก่ตนเองในอนาคต
          7. เป็นการอุทิศส่วนบุญแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
          8.เป็นการช่วยรักษาพุทธประเพณี

การทำบุญตักบาตรจะสมบูรณ์ได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
          1. ต้องเตรียมใจให้พร้อม ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะบุญที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใจของผู้ถวาย ท่านแนะนำให้รักษาเจตนาให้บริสุทธิ์
ทั้ง 3 ขณะ คือ
              1.1 ก่อนถวาย ตั้งใจเสียสละอย่างแท้จริง
              1.2 ขณะถวาย ก็มีใจเลื่อมใส ถวายด้วยความเคารพ
              1.3 หลังจากถวายแล้ว ต้องยินดีในทานของตัวเองจิตใจเบิกบานเมื่อนึกถึงทานที่ตนเองได้ถวายไปแล้ว การทำใจให้ได้ทั้ง 3 ขณะ
ดังกล่าวนี้ นับว่ายากมาก เพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้จิตใจของเราเศร้าหมองในขณะใดขณะหนึ่งได้
          2. ผู้รับ คือ พระภิกษุสามเณร เป็นผู้สำรวมระวัง มีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงามตามพระธรรมวินัย ใฝ่ศึกษาเล่าเรียน พระพุทธพจน์ ทรงจำ นำมา
บอกกล่าว สั่งสอนได้ และเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ จนสามารถละขาดได้อย่างสิ้นเชิง
          3. สิ่งของที่ถวาย จะต้องได้มาด้วยวิธีที่สุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน และที่สำคัญคือสิ่งนั้นต้องเหมาะสมแก่พระภิกษุสามเณรด้วย
คำอธิษฐานก่อนตักบาตร
          ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา มีเป้าหมายเพื่อให้มนุษย์ปลดเปลื้องตนเองจากทุกข์ มีจิตใจเป็นอิสระเหนือทุกข์ทุกอย่าง
(พระนิพพาน) หลักการดำเนินชีวิตของชาวพุทธนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งพระโบราณาจารย์ท่านจึงบัญญัติคำ อธิษฐานที่เป็น
สากลนิยมไว้ว่า"อิ ทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิกขูนัง นิยยาเทมิ สุทินนัง วะตะ เม ทานัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ อะนาคะเต กาเล ฯ ข้าพเจ้าขอน้อม
ถวายทานนี้แด่พระสงฆ์ผู้มีศีล ขอท่านที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้ว จงเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ในอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ"
          อีกบทหนึ่งเป็นคำอธิษฐานถึงพระสังฆรัตนะ ว่า นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สังจะวัชเชนะ, โสตถิ เมโหต
ุ สัพพะทา ฯ ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยคำสัตย์ นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ
เทอญ ฯ

วิธีปฏิบัติในการตักบาตร
          โดยปกติพระภิกษุสามเณร จะเดินเรียงลำดับอาวุโส ไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านกำลังรออยู่ ก็จะยืนเรียงเป็น
แถว แต่ในกรุงเทพฯ หรือในบางจังหวัด พระภิกษุสามเณรมักไปตามลำพัง ไม่ได้เดินเรียงแถว
          ทั้งนี้เพราะพระภิกษุสามเณรในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมาก จึงไม่สะดวกที่จะเดินเรียงแถวกันไป และผู้ที่จะนำอาหารมาตักบาตรได้ไม่
ครบทุกรูป การตักบาตรเป็นสังฆทาน คือการถวายโดยไม่เจาะจง จึงควรตั้งใจว่าจะทำบุญตักบาตร แก่พระภิกษุสงฆ์สามเณรในพระพุทธศาสนา
โดยไม่เจาะจงว่าเป็นรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อพระภิกษุสามเณรรูปใดผ่านมา ก็ตั้งใจตักบาตรแก่พระภิกษุสามเณรรูปนั้นและรูปอื่นๆ ไปตามลำดับโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
          1. จัดเตรียมอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะใส่ภาชนะเรียบร้อย มากหรือน้อยตามความต้องการ
          2. นำอาหารที่เตรียมไว้ไปคอยตักบาตร ก่อนที่จะตักบาตรควรตั้งจิตถวายด้วยศรัทธา และความเคารพ ตั้งความปรารถนา เพื่อทำกิเลสให้ลดน้อยลงจนถึงหมดสิ้นไป
          3. ขณะที่ตักบาตร ควรอยู่ในอาการสำรวมและเคารพ
          4. เมื่อตักบาตรเสร็จแล้ว ควรแสดงความเคารพด้วยการไหว้
          5. หลังจากตักบาตร ควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
          คำอธิษฐาน ในการตักบาตรจะใช้ภาษาบาลี หรือภาษาไทยหรือใช้ทั้งสองภาษาก็ได้ ดังนี้
สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุถอดความว่า ทานของเราให้แล้วด้วยดี ขอจิตข้านี้จงสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ
คำกรวดน้ำ แบบย่อ อิทัง เม ญาตินัง โหตุถอดความว่า ขอส่วนแห่งบุญกุศล จงสัมฤทธิ์ผลแก่ญาติข้าดั่งตั้งใจ

อานิสงส์ของการตักบาตร
          1. ทำให้สุขทั้งกายใจ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
          2. มีสุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาว โรคภัยน้อย
          3. มีทรัพย์สมบัติมาก เป็นมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ
          4. ถึงพร้อมด้วย รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติ

ข้อควรระวังในการทำบุญตักบาตร
          1.เมื่อพระสงฆ์เดินผ่าน เราจำเป็นต้องนิมนต์ท่าน ก่อนทุกครั้ง
          2.หากต้องการ ถวายปัจจัย ( เงิน ) ต้องใส่ในย่าม เท่านั้น
          3.ทุกครั้ง ที่จะทำการกรวดน้ำ ให้ทำการ ตั้งนะโม 3 จบ ก่อนทุกครั้ง
          4.อย่าให้ทัพพีหรือภาชนะโดนบาตร
          5. อย่าชวนพระสนทนาขณะใส่บาตร
          6. ควรถอดรองเท้าทุกครั้ง
          7. ไม่ควรใส่สิ่งของที่ใหญ่เกินไป เช่น ขวดน้ำ ข้าวถุงใหญ่
          8. ควรจัดอาหารที่หาได้สะดวก
          9. ไม่ควรใส่อาหารกระป๋อง ของดิบ หรือของเหลือที่รับประทานแล้ว
          จะเห็นได้ว่าการใส่บาตรให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่นั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ในบางจุดที่ดูเหมือนว่ามีรายละเอียดมากมายนั้นเป็นเพราะ
วิถีชีวิตของเราทุกวันนี้เหินห่างจากวัดไปมาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยที่เราจะนำมาปฏิบัติ ทั้งนี้มิใช่เพียงเพราะให้เราได้รับอานิสงส์ผลบุญจาก
การตักบาตรอย่างเต็มที่เท่านั้น แต่การใส่บาตรอย่างเหมาะสมยังช่วยสืบต่ออายุพุทธศาสนาให้ยืนยาว เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและคนรุ่นหลังต่อไป
ช่วยให้คุณค่าของการใส่บาตรยังคงอยู่อย่างพร้อมมูลในทุกด้าน มิใช่เป็นเพียงพิธีกรรมที่สักแต่ว่าทำตามๆ กันไปเท่านั้น


เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
ใส่บาตร...ให้ได้บุญ ผู้แต่ง/เรียบเรียง พระวิชิต ธมฺมชิโต
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=4009
http://kuiburi.blogspot.com/2011/09/kuiburi-kuiburitemple-kuiburi-temple.html
http://dharmahall.blogspot.com/2011/08/blog-post_27.html
http://talk.mthai.com/topic/352168
http://student.nu.ac.th/jitrada/main.html
http://thanat18.wordpress.com/2009/08/20/การตักบาตรแบบถูกต้องได/

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://www.stou.ac.th/study/sumrit/10-56(500)/page3-10-56(500).html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น