สุคติและศรัทธาที่ตั้งมั่นของเทวดา***
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เทวดาเป็นผู้จะต้องจุติ
จากเทพนิกายเมื่อนั้น นิมิตร ๕ ประการ
ย่อมปรากฏแก่เทวดานั้น คือ ดอกไม้ย่อมเหี่ยวแห้ง ๑
ผ้าย่อมเศร้าหมอง ๑ เหงื่อย่อมไหลออกจากรักแร้ ๑
ผิวพรรณเศร้าหมองย่อมปรากฏที่กาย ๑
เทวดาย่อมไม่ยินดีในทิพอาสน์ของตน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เทวดาเป็นผู้จะต้องจุติ
จากเทพนิกายเมื่อนั้น นิมิตร ๕ ประการ
ย่อมปรากฏแก่เทวดานั้น คือ ดอกไม้ย่อมเหี่ยวแห้ง ๑
ผ้าย่อมเศร้าหมอง ๑ เหงื่อย่อมไหลออกจากรักแร้ ๑
ผิวพรรณเศร้าหมองย่อมปรากฏที่กาย ๑
เทวดาย่อมไม่ยินดีในทิพอาสน์ของตน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายเทวดาทั้งหลายทราบว่า
เทพบุตรนี้จะต้องเคลื่อนจากเทพนิกาย
ย่อมพลอยยินดีกะเทพบุตรนั้นด้วยถ้อยคำ ๓ อย่างว่า
แน่ะท่านผู้เจริญ ขอท่านจากเทวโลกนี้ไปสู่สุคติ ๑
ครั้นไปสู่สุคติแล้ว ขอจงได้ลาภที่ท่านได้ดีแล้ว ๑
ครั้นได้ลาภที่ท่านได้ดีแล้ว ขอจงเป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยดี ๑
เทพบุตรนี้จะต้องเคลื่อนจากเทพนิกาย
ย่อมพลอยยินดีกะเทพบุตรนั้นด้วยถ้อยคำ ๓ อย่างว่า
แน่ะท่านผู้เจริญ ขอท่านจากเทวโลกนี้ไปสู่สุคติ ๑
ครั้นไปสู่สุคติแล้ว ขอจงได้ลาภที่ท่านได้ดีแล้ว ๑
ครั้นได้ลาภที่ท่านได้ดีแล้ว ขอจงเป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยดี ๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอแลเป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดา
ทั้งหลายอะไรเป็นส่วนแห่งลาภที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว
อนึ่ง อะไรเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย
พระเจ้าข้า.
ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอแลเป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดา
ทั้งหลายอะไรเป็นส่วนแห่งลาภที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว
อนึ่ง อะไรเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย
พระเจ้าข้า.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์แล
เป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดาทั้งหลาย
เทวดาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ย่อมได้ศรัทธาในธรรมวินัย
ที่พระตถาคตประกาศแล้ว นี้แลเป็นส่วนแห่งลาภ
ที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว ก็ศรัทธาของเทวดานั้นแล
เป็นคุณชาติตั้งลง มีมูลเกิดแล้วประดิษฐานมั่นคง
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก
พึงนำไปไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล
เป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย
เป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดาทั้งหลาย
เทวดาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ย่อมได้ศรัทธาในธรรมวินัย
ที่พระตถาคตประกาศแล้ว นี้แลเป็นส่วนแห่งลาภ
ที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว ก็ศรัทธาของเทวดานั้นแล
เป็นคุณชาติตั้งลง มีมูลเกิดแล้วประดิษฐานมั่นคง
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก
พึงนำไปไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล
เป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย
เมื่อใด เทวดาจะต้องจุติจากเทพนิกาย
เพราะความสิ้นอายุเมื่อนั้น
เสียง ๓ อย่างของเทวดาทั้งหลายผู้พลอยยินดี
ย่อมเปล่งออกไปว่า แน่ะท่านผู้เจริญ
ท่านจากเทวโลกนี้ไปแล้วจงถึงสุคติ จงถึงความเป็น
สหายแห่งมนุษย์ทั้งหลายเถิดท่านเป็นมนุษย์แล้ว
จงได้ศรัทธาอย่างยิ่งในพระสัทธรรม
ศรัทธาของท่านนั้นพึงเป็นคุณชาติตั้งลงมั่น
มีมูลเกิดแล้วมั่นคงในพระสัทธรรมที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว
อันใครๆพึงนำไปมิได้ตลอดชีพ
ท่านจงละกายทุจริต วจีทุจริตมโนทุจริต
และอย่ากระทำอกุศลกรรมอย่างอื่นที่ประกอบด้วยโทษ
กระทำกุศลด้วยกาย ด้วยวาจาให้มาก
กระทำกุศลด้วยใจหาประมาณมิได้
หาอุปธิมิได้แต่นั้นท่านจงกระทำบุญ
อันให้เกิดสมบัตินั้นให้มาก ด้วยทาน แล้วยัง
สัตว์แม้เหล่าอื่นให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม
ในพรหมจรรย์ เมื่อใดเทวดาพึงรู้แจ้งซึ่งเทวดาผู้จะจุติ
เมื่อนั้น ย่อมพลอยยินดีด้วยความอนุเคราะห์นี้ว่า
แน่ะเทวดา ท่านจงมาบ่อยๆ.
.............................
(บาลี) อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๘๙/๒๖๑-๒๖๒.
เพราะความสิ้นอายุเมื่อนั้น
เสียง ๓ อย่างของเทวดาทั้งหลายผู้พลอยยินดี
ย่อมเปล่งออกไปว่า แน่ะท่านผู้เจริญ
ท่านจากเทวโลกนี้ไปแล้วจงถึงสุคติ จงถึงความเป็น
สหายแห่งมนุษย์ทั้งหลายเถิดท่านเป็นมนุษย์แล้ว
จงได้ศรัทธาอย่างยิ่งในพระสัทธรรม
ศรัทธาของท่านนั้นพึงเป็นคุณชาติตั้งลงมั่น
มีมูลเกิดแล้วมั่นคงในพระสัทธรรมที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว
อันใครๆพึงนำไปมิได้ตลอดชีพ
ท่านจงละกายทุจริต วจีทุจริตมโนทุจริต
และอย่ากระทำอกุศลกรรมอย่างอื่นที่ประกอบด้วยโทษ
กระทำกุศลด้วยกาย ด้วยวาจาให้มาก
กระทำกุศลด้วยใจหาประมาณมิได้
หาอุปธิมิได้แต่นั้นท่านจงกระทำบุญ
อันให้เกิดสมบัตินั้นให้มาก ด้วยทาน แล้วยัง
สัตว์แม้เหล่าอื่นให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม
ในพรหมจรรย์ เมื่อใดเทวดาพึงรู้แจ้งซึ่งเทวดาผู้จะจุติ
เมื่อนั้น ย่อมพลอยยินดีด้วยความอนุเคราะห์นี้ว่า
แน่ะเทวดา ท่านจงมาบ่อยๆ.
.............................
(บาลี) อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๘๙/๒๖๑-๒๖๒.
คติผู้ที่ต่ำกว่าโสดาบันไม่แน่นอน***
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ
บางคราวตกเอาโคนลง
บางคราวตกเอาตอนกลางลง
บางคราวตกเอาปลายลง,
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ
บางคราวตกเอาโคนลง
บางคราวตกเอาตอนกลางลง
บางคราวตกเอาปลายลง,
ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. !
สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องผูก
แล่นไปอยู่ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ
ก็ทำนองเดียวกัน
บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น
บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องผูก
แล่นไปอยู่ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ
ก็ทำนองเดียวกัน
บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น
บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
อริยสัจสี่อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรม
อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
เป็นอย่างนี้.” ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๖.
เธอพึงประกอบโยคกรรม
อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
เป็นอย่างนี้.” ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๖.
https://youtu.be/cheJI2nRMnA
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น